โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจากการที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งสารอินซูลินในปริมาณที่เพียงพอเพื่อมาจัดการกับระดับน้ำตาล หรือเกิด “ภาวะดื้ออินซูลิน” ที่สารอินซูลินที่ร่างกายหลั่งมานั้นมีประสิทธิภาพไม่ดีพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ที่จะส่งผลต่อไปต่อกระบวนเผาผลาญหรือกระบวนการเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไปให้กลายเป็นพลังงานโดยเฉพาะน้ำตาล โดยหากระดับน้ำตาลในเลือดไม่สามารถถูกควบคุมให้อยู่ในระดับปกติจะส่งผลกระทบที่สามารถทำลายหัวใจ หลอดเลือด ไต และระบบประสาท นอกจากนี้อาจทำให้สูญเสียการมองในระยะยาวได้ โรคเบาหวานมีหลายชนิดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่เด็กเล็กและวัยรุ่นสมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นกันมากขึ้น เพราะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหาร Fast Food หรืออาหารที่หวานจัด เป็นอาหารประเภทแป้งในสัดส่วนที่สูง มีแคลอรี่สูงต่อมื้อ การเกิดโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น
หากจะหาวิธีที่ป้องกันได้แบบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุได้จากวงการแพทย์สากล โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และที่มีสาเหตุมาจากทางกรรมพันธุ์ แต่มีหลักฐานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นได้จากการปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยมากขึ้น เช่น หากมีภาวะน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง การเลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด มันจัด เลือกกินอาหารตามหลักโภชนาการจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
“การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา” โดยการปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยทางด้านสุขภาพมากขึ้น เช่น หากมีภาวะน้ำหนักเกินสามารถการลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง การเลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ หลีกเลี่ยงการกิจอาหารรสหวานจัด มันจัด เลือกกินอาหารตามหลักโภชนาการ จัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองท่านใดเกิดข้อสงสัยหรือต้องการทราบถึงสุขภาพของบุตรหลานของท่านว่ามีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือไม่ อาจจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน